การผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม

การผลิตพลังงานทางเลือกในประเทศไทย

Waste-to-energy คืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

waste to energy

บริษัท WHAUP สนับสนุน Waste-to-energy หรือการผลิตพลังงานทางเลือกโดยการเปลี่ยนขยะอุตสาหกรรมให้เป็นแหล่งพลังงาน เมื่อขยะอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือความร้อนจะกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้

ก๊าซชีวภาพ คือก๊าซที่เกิดขึ้นเมื่อสารอินทรีย์เน่าเปื่อยผุพังในกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานแหล่งใหม่ ก๊าซชีวภาพจะย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ต่างๆ เช่น ใบและเส้นใยต้นปาล์มน้ำมัน ชานอ้อยและใบอ้อย ฟางข้าว ต้นข้าวโพด มันสำปะหลัง และขี้เลื่อย นอกจากนี้ขยะมูลฝอยจากชุมชนก็ยังเป็นแหล่งพลังงานได้หากนำไปเผาเพื่อให้พลังงานความร้อนหรือกระแสไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน เนื่องจากนำกลับมาใช้อีกครั้งได้

กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ

waste to energy

การผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมเป็นวิธีการเชิงรุกและแสดงถึงความรับผิดชอบ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยกว้าง

สำหรับภาคธุรกิจ Waste-to-energy ถือเป็นใช้ทรัพยากรทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ แม้แต่ขยะจากการดำเนินการในแต่ละวันก็ยังนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อีกทั้งยังมีผลตอบแทนต่อต้นทุนสูงกว่าเนื่องจากขยะอุตสาหกรรมจะกลายเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า และนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ส่วนชุมชนก็ได้รับประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมเช่นกัน เมื่อทิ้งและจัดเก็บขยะอุตสาหกรรมอย่างมีระบบ ไม่ปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่ชุมชน ทำให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

นโยบายประเทศไทยด้าน Waste-to-energy

การผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนาในประเทศไทย ทั้งนี้กระทรวงพลังงานเชื่อว่าพลังงานหมุนเวียน รวมถึงพลังงานจากชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะมูลฝอยจากชุมชนจะทำให้ประเทศมีแหล่งพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579
ร้อยละ 30
ของการใช้พลังงาน

พลังงานหมุนเวียนเป็นนโยบายสำคัญอันดับต้นๆ ด้านพลังงานของประเทศไทย แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 ตั้งเป้าหมายให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทนร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2579

นโยบาย Waste-to-energy เป็นส่วนหนึ่งของ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทย พ.ศ. 2558-2579 ซึ่งมีหลักสำคัญสามด้านดังต่อไปนี้

ด้านความมั่นคงของพลังงาน ต้องผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มขึ้น และใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย

ด้านเศรษฐกิจ คำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โครงการชลบุรี คลีน เอเนอร์ยี

บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ชลบุรี คลีนเอนเนอร์ยี่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 (WHA CIE 1) จังหวัดชลบุรี มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 8.6 เมกะวัตต์ เริ่มดำเนินการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ไปเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2562

โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ชลบุรี คลีนเอนเนอร์ยี่ หรือ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท อีสเทิร์นซีบอร์ด คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่าง บริษัท โกลว์ ไอพีพี 3 จำกัด (บริษัทย่อยของบมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี) ร่วมกับ บริษัท ดับบลิวเอชเอ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์) และบริษัท สุเอซ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทย่อยของบริษัท สุเอซ (เอเชีย) จำกัด) เพื่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม โดย WHAUP ถือหุ้น 33.33% มูลค่าการลงทุนในโครงการนี้อยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านบาท

บริษัท เจเอฟอี เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่นจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเทคโนโลยีมาตรฐานขั้นสูงในการกำกัดขยะด้วยวิธีการเผาขยะมาใช้ในขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า จึงปลอดภัยและยังเป็นวิธีการที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม