การรณรงค์ของเรา
ด้านธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ความโปร่งใส ความตระหนักในภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจยังเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาแกนหลักการกำกับดูแลกิจการ ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการดำเนินการด้านจริยธรรมของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายให้สอดคล้องกับแนวทางที่ผู้บริหารยึดถือ
โครงการพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด (AAT)
บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด (AAT) เป็นผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของฟอร์ดและมาสด้า ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ได้ทําการส่งมอบระบบพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาที่เสร็จสมบูรณ์ให้แก่ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด จากบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จํากัด (มหาชน) (WHAUP) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554
ระบบนําน้ําเสียกลับมาใช้ใหม่ (WATER RECLAMATION)
กลุ่มบริษัท WHAUP ได้ริเริ่มพัฒนาระบบนําน้ําเสียกลับมาใช้ใหม่ (Water Reclamation) เพื่อเป็นแหล่งผลิตน้ําทางเลือกอันนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
SMART Metering
กลุ่มบริษัท WHAUP ได้ริเริ่มพัฒนาระบบ “SMART Metering” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามการจ่ายน้ำ โดยการ เปลี่ยนมาตรวัดน้ำจากระบบอะนาล็อกที่ติดตั้งไว้เพื่อบันทึกปริมาณน้ำจ่ายและการใช้งานของผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมเป็นการแสดงผลในระบบดิจิทัลการบันทึกข้อมูล
โครงการ Demineralized Reclaimed Water
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท WHAUP ยังได้ลงทุนในโครงการ Demineralized Reclaimed Water ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ประกอบด้วยการดําเนินงาน 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนมีกําลังการผลิตอยู่ที่ 4.38 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
ชมรมพัฒนาทรัพยากรบุุคคล
ในปี 2563 กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดตั้งชมรมพัฒนาทรัพยากรบุคคล (HR Club) ขึ้นสองชมรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ และอํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ของกลุ่มบริษัทฯ และกลุ่มบริษัท WHAUP ที่สนใจเปิดโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่ากลุ่มบริษัทฯ จะคอยให้ความช่วยเหลือในทุกขั้นตอนของการลงทุน ตลอดจนการดําเนินการขอใบอนุญาตและการติดต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จึงช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของโครงการ
ชมรมลูกค้าดับบลิวเอชเอ
กลุ่มบริษัทฯ และกลุ่มบริษัท WHAUP ได้ก่อตั้ง ชมรมลูกค้าต่างๆ ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร กับลูกค้า เปิดโอกาสให้กลุ่มบริษัทฯ มีการ ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อทําความเข้าใจ ความสนใจและข้อกังวลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ชมรม ลูกค้าที่โดดเด่นในปี 2563 มีดังต่อไปนี้
โครงการเสริมสร้างความตระหนักในความสําคัญ ของความปลอดภัยทางไซเบอร์และการรักษาข้อมูล
เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล WHAUP จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมประจําปีซึ่งเนื้อหาในการอบรมเป็นไปตามที่คณะกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล (Security Standards Council) พิจารณาไว้นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางกายภาพความปลอดภัยของอีเมลความปลอดภัยของรหัสผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เครือข่ายไร้สายและความปลอดภัยของการเชื่อมต่อเครือข่าย ตลอดจนความปลอดภัยของสถานที่ปฏิบัติงานและมัลแวร์ สําหรับพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะได้รับการฝึกอบรมปีละครั้งโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร
กลไกการตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์
สินทรัพย์ด้านสารสนเทศทางไซเบอร์และการรักษาความลับของ ข้อมูลถือเป็นส่วนหนึ่งของจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ดังนั้น ในกรณีที่พบข้อสงสัย การฝ่าฝืนหรือการละเมิดที่เกี่ยวกับการ ป้องกันข้อมูลสามารถรายงานผ่านช่องทางที่กําหนดไว้ ซึ่ง กระบวนการการจัดการของการแจ้งเบาะแสจะเป็นไปตามที่กําหนด ไว้ในคู่มือจรรยาบรรณทางธุรกิจ นอกจากนี้ WHAUP ยังได้นํา นโยบายการตรวจประเมินการรั่วไหลของข้อมูลและการบริหาร จัดการความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งจัดทําขึ้นโดยกลุ่มบริษัท WHA มาบังคับใช้กับพนักงานทุกคนในปี 2564 โดยนโยบายดังกล่าว ได้กําหนดแนวทางปฏิบัติและบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ บริหารจัดการและการรายงานปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของ ข้อมูลสําหรับการรั่วไหลของข้อมูลในแต่ละกรณีที่ได้รับรายงาน
แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ของสารสนเทศ
ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปทั่วโลก ทําให้ เกิดการทํางานจากนอกองค์กร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการ โจมตีทางไซเบอร์ได้ WHAUP จึงใช้แผนบริหารความต่อเนื่องทาง ธุรกิจ (BCP) ของกลุ่มบริษัท WHA ที่เน้นกลไกการตอบสนองใน กรณีที่เกิดวิกฤตด้านสารสนเทศ โดยแผนบริหารความต่อเนื่องทาง ธุรกิจ (BCP) นั้นประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติสําหรับพนักงานเมื่อ ใช้งานช่องทางการสื่อสารออนไลน์หรือเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ ของบริษัทผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และระบบไดรฟ์กลาง โดยในปี 2564 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะจัดทําการวิเคราะห์ผลกระทบ ทางธุรกิจของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด และพัฒนาแนว ปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจสําหรับแต่ละระบบโดยเฉพาะ